Posted by: Je L | กรกฎาคม 8, 2008

ประเภท,ความสำคัญ,จุดม่งหมาย,องค์ประกอบ ของการพูด

ประเภทของการพูด

            เราอาจแบ่งการพูดของมนุษย์ออกเป็น    ประเภท  คือ

๑.      การพูดระหว่างบุคคล

๒.      การพูดในกลุ่ม

๓.      การพูดในที่ชุมนุมชน

๔.     การพูดทางสื่อมวลชน

 

ความสำคัญของการพูด

            การพูดเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้กิจการต่าง ๆ  สำเร็จไปได้ด้วยดี  ผู้มีความสามารถในการพูดจึงเป็นผู้มีอำนาจอยู่ในตัว  ก่อให้เกิดผลดีในการดำเนินชีวิต  ทั้งในด้านกิจการงานและด้านส่วนตัว

 

ความมุ่งหมายของการพูด 

ความมุ่งหมายของการพูด คือ  การแสดงหรือเสนอข้อคิดเห็นต่อผู้ฟัง  และผู้ฟังสามารถรับรู้เรื่องราวและเข้าใจได้ตรงกับความต้องการของผู้พูด ตลอดจนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เรียกว่า

            พูดได้อย่างใจนึก

            ระลึกได้ดังใจหวัง

            ยังประโยชน์ให้แก่ผู้ฟัง

สร้างพลังในการเปลี่ยนแปลง

ความมุ่งหมายของการพูด  แบ่งเป็น    ประเภทใหญ่ ๆ  ได้แก่   ๑)   ความมุ่งหมายของการพูดโดยทั่วไป  และ ๒)   ความมุ่งหมายเฉพาะ

           

๑.   ความมุ่งหมายโดยทั่วไป  คือ  การพูดที่พยายามให้ผู้ฟังสนใจ  เข้าใจ  และประทับใจจากการพูดนั้น ๆ

                        ก.  ความสนใจ  จะเกิดได้เพราะผู้พูดได้เตรียมตัวเป็นอย่างดี  กล่าวคือ สนใจที่จะรับฟังเพราะเตรียมพูดมาดี  และสนใจที่จะรับฟังจนจบเรื่องเพราะเตรียมเนื้อหามาดี

                        ข.  ความเข้าใจ  การเรียกร้องให้คนสนใจฟังเท่านั้นยังไม่เป็นการเพียงพอ  จะต้องให้ผู้ฟังเข้าใจด้วย  ซึ่งกระทำได้โดยการเตรียมเนื้อเรื่อง  การใช้ถ้อยคำ  การเรียบเรียงประโยคที่ง่ายต่อการเข้าใจ   เป็นต้น

                        ค.  ความประทับใจ  คือ ความเข้าใจที่ชัดเจน  จนมองเห็นภาพ  ซึ่งทำได้โดยการใช้คำคม  ข้อความที่ลึกซึ้งกินใจ  คำรุนแรงที่เหมาะสม  ตลอดจนอุปมาอุปไมยต่าง ๆ  เป็นต้น

                        ดังนั้น  ในการพูดทุกครั้ง  ผู้พูดจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม  ทั้งคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุปจบให้สอดคล้องกัน  เพื่อช่วยให้ประสบผลสำเร็จในการพูดทุก ๆ ครั้ง

 

๒.   ความมุ่งหมายเฉพาะ  ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

ก.  เพื่อให้ข่าวสารความรู้  เป็นการพูดแบบเสนอข้อเท็จจริง  โดยไม่มุ่งหมายที่จะเปลี่ยนทัศนคติของผู้ฟัง  แต่เพื่อเพิ่มพูนความรู้  ความเข้าใจแก่ผู้ฟัง

ข.  เพื่อความบันเทิง  เป็นการพูดเพื่อให้ผู้ฟังสนุกสนานครึกครื้น  มักเป็นการพูดหลังอาหาร   ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการพักผ่อน

ค.  เพื่อชักจูงใจ   คือ  การพูดที่มุ่งหวังให้ผู้ฟังเปลี่ยนใจเห็นคล้อยตามผู้พูด  โดยใช้ การเร้าอารมณ์เป็นที่ตั้ง

 

องค์ประกอบของการพูด

            องค์ประกอบของการพูดที่สมบูรณ์  ประกอบด้วย

๑.      ผู้พูด

๒.      เนื้อเรื่องที่จะพูด

๓.      ผู้ฟัง

๔.     เครื่องมือสื่อความหมาย

๕.     ความมุ่งหมายและผลในการพูดแต่ละครั้ง


ใส่ความเห็น

หมวดหมู่